top of page

หลักสูตร วิชาในสาขาสังคมศาสตร์ฯ

ได้แก่ วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เช่น วิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ไทยศึกษา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หลักบริหารรัฐกิจเบื้องต้น และ หลักการบริหาร เป็นต้น การพัฒนาหลักสูตรวิชาดังกล่าว ได้จัดทำไปพร้อมกับการพัฒนาหลักสูตรของ รร.นอ. ได้แก่

               หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศ   พ.ศ.๒๕๒๖

               หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศ   พ.ศ.๒๕๓๐    

               หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศ   พ.ศ.๒๕๓๕    

               หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศ   พ.ศ.๒๕๔๑ 

               หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศ   พ.ศ.๒๕๔๕  

               หลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศ   พ.ศ.๒๕๔๙

 

               วิชาศึกษาทั่วไป  ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ  ๓  กลุ่มวิชา ได้แก่

๑. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

๒. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

๓. กลุ่มวิชาสหศาสตร์ 

 

        วิชาศึกษาทั่วไป  หมายถึง  กระบวนวิชาที่มุ่งพัฒนานักเรียนนายเรืออากาศให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม  เป็นผู้ใฝ่รู้  สามารถคิดอย่างมีเหตุผล เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้นำ  มีคุณธรรม  ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

        วิชาศึกษาทั่วไป  ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ  ๓  กลุ่มวิชา ได้แก่

๑. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

๒. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

๓. กลุ่มวิชาสหศาสตร์ 

โดยจัดให้มีทั้งการบูรณาการเนื้อหาสาระเข้าด้วยกัน  และเป็นรายวิชาเฉพาะสาระที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นได้

           จุดประสงค์ทั่วไปของวิชาศึกษาทั่วไป  มีดังนี้

                    ๑. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการคิด  การวิเคราะห์  การแก้ปัญหาและการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์และตามหลักธรรมชาติ การอนุรักษ์  ดูแลและพัฒนาสิ่งแวดล้อม  และตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าและผลกระทบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                    ๒. ให้มีทักษะการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนตลอดชีวิต  การคิดอย่างมีเหตุผล  รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้  การใช้สารสนเทศที่ติดต่อสื่อความหมายกับผู้อื่นและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                     ๓. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนายเรืออากาศมีความรอบรู้  มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีความเข้าใจในธรรมชาติ  ตนเอง  ผู้อื่นและสังคม  และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

                     ๔. ให้มีเจตคติที่ดีและซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม  มีค่านิยมที่พึงประสงค์  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และความรับผิดชอบ ซาบซึ้งในศิลปะและสุนทรียภาพ  ตระหนักในการปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย

 

กรอบแนวคิดในการจัดรายวิชาศึกษาทั่วไป

 

การจัดรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ภาควิชาสังคมศาสตร์ฯ) ของโรงเรียนนายเรืออากาศ มีดังนี้

    ๑. สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรีตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘  ซึ่งกำหนดให้หลักสูตรต้องมีรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต  โดยภาควิชาสังคมศาสตร์รับผิดชอบ ๑๒ หน่วยกิต

    ๒. เนื้อหาสาระของรายวิชาศึกษาทั่วไปจะต้องมีลักษณะเป็นการบูรณาการ  ไม่เป็นวิชาที่มีเนื้อหาเฉพาะซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของวิชาชีพในหลักสูตรนั้น ๆ

    ๓. มีเป้าหมายหรือสะท้อนการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนนายเรืออากาศตามคุณลักษณะนักเรียนนายเรืออากาศที่พึงประสงค์ข องโรงเรียนนายเรืออากาศ

 

โครงสร้างวิชาศึกษาทั่วไป (ภาควิชาสังคมศาสตร์ ฯ)

         วิชาศึกษาทั่วไปประกอบด้วยรายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาสหศาสตร์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต โดยมีรายละเอียดดังนี้

     กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

         เป็นกลุ่มวิชาที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ และการแสวงหาความรู้ที่เป็นแก่นสำคัญทางสังคมศาสตร์ อันได้แก่ ความรู้เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์และสังคม กิจกรรมทางสังคมที่สำคัญ ๆ ปัญหาสังคม กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจและตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบและบทบาทที่พึงมีในฐานะสมาชิกของสังคม

           กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

       กลุ่มวิชานี้มุ่งพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ และแสวงหาความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ เพื่อให้รู้จัก เข้าใจตนเองในเรื่องจิตวิญญาณ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการและการใช้เหตุผลของมนุษย์ เพื่อสร้างอารยธรรมและศิลปกรรมต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างต่อเนื่องและสามารถนำมาใช้อธิบายปัญหาของตนเอง ผู้อื่น และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบันได้

 

           กลุ่มวิชาสหศาสตร์
              วิชาในกลุ่มนี้มุ่งพัฒนากระบวนการแบบบูรณาการเพื่อให้นิสิตเห็นความสัมพันธ์ของศาสตร์ต่างสาขา อันได้แก่ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยี อันจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆได้อย่างรอบคอบ รอบด้านและอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทั้งในระดับสังคม การดำเนินชีวิตส่วนตนและวิชาชีพ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างให้เกิดแนวคิดของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง  การอภิปรายและการประยุกต์ใช้ จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สำคัญ ส่วนลักษณะเนื้อหาวิชาอาจเป็นเรื่องใด ๆ ที่มีการผสมผสานความรู้ของศาสตร์ทั้ง ๓ กลุ่มเข้าด้วยกัน

 

 

โครงสร้างรายวิชาวิชาศึกษาทั่วไปหลักสูตรปี ๕๓

 

รายวิชา

 

 

หน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป (ภาควิชาสังคมศาสตร์)

 

๑๒

๑.๑ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

 

 

สศ ๑๐๑ วิชาจิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๑๐๒ วิชาสังคมวิทยา (Sociology)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๒๐๐ วิชาหลักรัฐศาสตร์ (Principles of Political Science)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๓๐๐ วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  (Introductory      Economics )                                              

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๔๑๑* วิชาหลักการบริหาร  (Principles of Management)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๔๑๓*การบริหารรัฐกิจ (Introduction to Public Administration)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๔๑๒* วิชาสังคมวิทยาการทหาร (Military Sociology)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๔๑๕** วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Studies )

 

๒(๒-๐-๐)

๑.๒ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

 

 

สศ ๔๑๔** วิชาไทยศึกษา (Thai Studies)

 

๒(๒-๐-๐)

สศ ๔๑๖** วิชาประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai  History)

 

๒(๒-๐-๐)

หมายเหตุ     * เลือกเรียน ๑ วิชา ในชั้นปีที่ ๔ ภาคต้น

               ** เลือกเรียน ๑ วิชา ในชั้นปีที่ ๔ ภาคปลาย

 

การเรียนการสอน

        ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ภาควิชาสังคมศาสตร์ฯ รับผิดชอบการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยจัดการศึกษาในระบบทวิภาค ตามกระบวนวิชาที่รับผิดชอบ ได้แก่ วิชาจิตวิทยาทั่วไป  สังคมวิทยา  หลักรัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  หลักการบริหาร ไทยศึกษา และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา  โดยจัดการเรียนการสอนให้แก่ นนอ.ชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ ๔

 

หลักสูตรภาควิชาสังคมศาสตร์

 

สศ 101จิตวิทยาทั่วไป SO 101 General Psychology2                                                                               หน่วยกิต (2 - 0 - 0)

 

ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา ความหมาย จุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา พื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรม การรู้สึกสัมผัสและการรับรู้ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ การเรียนรู้ บุคลิกภาพ สุขภาพจิต และพฤติกรรมสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

สศ 102สังคมวิทยาSO 102 Sociology2                                                                                                   หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ความหมาย ประวัติความเป็นมา คุณลักษณะ เนื้อหา และประโยชน์ของวิชาสังคมวิทยา แนวความคิด ทฤษฎี หลักการ และระเบียบวิธีในการศึกษาทางสังคมวิทยา การจัดระเบียบทางสังคม บรรทัดฐานทางสังคม สถาบันทางสังคม สถานภาพและบทบาท วัฒนธรรมการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม และการถ่ายทอดลักษณะความเป็นทหาร กระบวนการทางสังคม ชุมนุมชน และสังคมวิทยา กลุ่มสัมพันธ์ ความแตกต่างทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาสังคม

 

สศ 200 หลักรัฐศาสตร์SO 200 Principles of Political Science2                                                                หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ศึกษาถึงความหมาย ความเป็นมา ธรรมชาติและวิธีการทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์ทางด้านสังคมอื่นๆ ขอบเขตการศึกษาจะครอบคลุมถึงแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ทางรัฐศาสตร์ ลัทธิและแนวคิดทางการเมือง ระบบการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคคล สถาบันการเมืองการปกครอง ระบบบริหารราชการแผ่นดิน การเมืองระหว่างประเทศ กระบวนการทางการเมือง พลังทางการเมืองและหลักการเกี่ยวกับอำนาจ การใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิมนุษยชน

 

สศ 300 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นSO 302 Introduction to Economics2                                                             หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ศึกษาหลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค ในเรื่องปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค ลักษณะสำคัญของตลาดสินค้าที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ หลักการคำนวณรายได้ประชาชาติ การวิเคราะห์รายได้รายจ่ายในบัญชีผลิตภัณฑ์ประชาชาติ การเงิน การธนาคาร นโยบายการเงินและการคลังโดยสังเขป ความสำคัญของการค้า และการเงินระหว่างประเทศในดุลการชำระเงิน รวมทั้งศึกษาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

สศ 411หลักการบริหารSO 411 Principles of Management2                                                                      หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ศึกษาลักษณะขององค์การและการบริหาร วิวัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีทางการบริหาร หน้าที่และกระบวนการทางการบริหาร แนวโน้มพัฒนาการรูปแบบการบริหารในอนาคต

 

สศ 412 สังคมวิทยาการทหารSO 412Military Sociology 2                                                                           หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ศึกษาและวิเคราะห์สถาบันทหารตามหลักทฤษฎีทางสังคมวิทยา อันได้แก่ การจัดองค์การทางทหาร และการเรียนรู้ทางทหาร สถานภาพ และบทบาทของทหาร การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับวิวัฒนาการทางทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

 

สศ 413 การบริหารรัฐกิจSO 413 Introduction to Public Administration2                                                   หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ ในประเด็น ความหมาย ทฤษฎี แนวความคิด ขอบข่ายของการบริหารรัฐกิจ วิวัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ การบริหารกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองการบริหาร กระบวนการทางการบริหาร ประเภทองค์กรและบุคลากรภาครัฐ นโยบายสาธารณะ การบริหารการคลังและงบประมาณของรัฐ การบริหารงานบุคคล พันธะความรับผิดชอบในการบริหารราชการ จริยธรรมของบุคลากร รวมทั้งศึกษาการบริหารราชการของไทยและนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับการบริหารในปัจจุบัน

 

สศ 414 ไทยศึกษาSO 414 Thai Studies2                                                                                                 หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ประวัติศาสตร์ไทย ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทย ปัจจัยที่กำหนดลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทย วิวัฒนาการด้านสังคม เศรษฐกิจ การปกครองของไทย สถาบันที่สำคัญในสังคมไทย ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและพิธีกรรมของคนไทย วิวัฒนาการของภาษาไทยและวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย ลักษณะโดยทั่วไปของศิลปกรรมไทย วิถีชีวิตของคนไทยในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต

 

สศ 415 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาSO 415 Southeast Asian Studies2                                                     หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

ศึกษาแบบสหวิทยาการ (Inter disciplinary) ทางด้านอาณาบริเวณศึกษา โดยมีภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกรอบเชิงพื้นที่ในฐานะหน่วยของการเรียนรู้การวิเคราะห์ ครอบคลุมในทุกมิติ คือ ประวัติศาสตร์ การเมืองสังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา สิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาร่วมสมัยต่างๆที่ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญอยู่

 

 

สศ 416 ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยSO 416 Contemporary Thai History2                                                     หน่วยกิต(2 - 0 - 0)

 

พัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทยและนโยบายต่างประเทศ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน

  

bottom of page